การประชุมระดมความคิดเห็น
(Brainstorming)

 

เพื่อการจัดทำสมุดปกขาว ได้จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 26 – 27 ตุลาคม 2566 ณ โรงแรมมารวยการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน มากกว่า 16 หน่วยงาน ซึ่งจากการประชุมดังกล่าวได้ข้อสรุปแต่ละหัวข้อดังต่อไปนี้

1. การสร้างความตระหนักและส่งเสริมการรับรู้ด้านพลังงานฟิวชัน

         ณ ปัจจุบันคณะกรรมาธิการการพลังงานให้ความสำคัญกับพลังงานจากปิโตรเลียมและพลังงานไฟฟ้า ตามแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้า (Power Development Plan: PDP) โดยพลังงานฟิวชันถือเป็นพลังงานรูปแบบใหม่ที่มีศักยภาพสูงสำหรับอนาคต ซึ่งที่ประชุมมีความคิดเห็นว่าหากสมุดปกขาวเกี่ยวกับพลังงานฟิวชันสำเร็จลุล่วงแล้ว สามารถเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเพื่อพิจารณาให้บรรลุเป้าหมายของพลังงานฟิวชันในแผนพัฒนาพลังงานต่อไป โดยกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักที่ได้จากการระดมความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมมีดังนี้

  • การจัดทำสื่อการเรียนรู้
  • การประชาสัมพันธ์ในรูปแบบออนไลน์
  • การขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน
  • การบรรจุในแผนพัฒนาพลังงาน และ
  • กิจกรรมการลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ในสังคม และชุมชน

         การสร้างความตระหนักและส่งเสริมการรับรู้ด้านพลังงานฟิวชันเป็นสิ่งจำเป็นในการขับเคลื่อนนโยบายและการพัฒนาเทคโนโลยีฟิวชันในประเทศไทย กิจกรรมต่างๆ ที่นำเสนอข้างต้น จะช่วยสร้างความเข้าใจและการสนับสนุนจากประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีฟิวชันอย่างมีประสิทธิภาพและนำไปสู่การใช้พลังงานฟิวชันในอนาคตอย่างจริงจัง

2. การพัฒนาวัสดุขั้นสูง เพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีพลาสมา

         เทคโนโลยีพลาสมากำลังได้รับความสนใจมากขึ้นในหลายอุตสาหกรรม แต่การพัฒนาเทคโนโลยีนี้จำเป็นต้องอาศัยวัสดุขั้นสูงที่มีคุณสมบัติพิเศษ เครื่องโทคาแมคเป็นเครื่องปฏิกรณ์ฟิวชันที่ใช้สนามแม่เหล็กในการกักเก็บพลาสมา วัสดุที่ใช้ในเครื่องโทคาแมคจะต้องทนต่อความร้อนสูง รังสี และสภาพแวดล้อมที่กัดกร่อน ดังนั้น การพัฒนาวัสดุขั้นสูงจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีพลาสมา โดยสถาบันวัสดุขั้นสูงสำหรับพลาสมาและฟิวชัน (Institute of Advanced Materials for Plasma and Fusion: IAMPaF ชื่ออย่างไม่เป็นทางการ) สถาบันที่ควรจัดตั้งขึ้นเพื่อการวิจัยและพัฒนานี้ จะช่วยสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาวัสดุเหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพและพร้อมต่อการใช้งานในการผลิตพลาสมาในระดับอุตสาหกรรม โดยการเริ่มต้นโครงการขนาดเล็กจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนาสถาบัน IAMPaF ระดับประเทศต่อไป

3. การวิจัยเชิงบูรณาการ ด้านพลังงานฟิวชัน

         การพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานฟิวชันจำเป็นต้องอาศัยงานวิจัยเชิงบูรณาการในหลายระบบ โดยงานวิจัยเหล่านี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ดังนี้

  • ระบบพื้นหลัง
  • ระบบปฏิบัติการ
  • การประยุกต์ใช้งาน

         ปัจจุบัน ประเทศไทยมีความพร้อมในบางด้านสำหรับการวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานฟิวชันเท่านั้น แต่ยังมีบางด้านที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติม จึงจำเป็นต้องมีการสร้างเสริมและสนับสนุนด้านต่าง ๆ เพื่อให้ประเทศไทยมีความพร้อมสำหรับการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานฟิวชันในอนาคต โดยเมื่อแบ่งระบบที่จำเป็นต่อการพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์ฟิวชันเป็นระบบแล้ว พบว่า ประเทศไทยยังขาดงบประมาณและอุปกรณ์สำหรับทุกระบบ และมีบุคลากรและความรู้ในระบบเหล่านั้นเพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งถือว่าไม่เพียงพอต่อความต้องการในการพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์ฟิวชัน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาสมรรถนะกำลังคนและยกระดับศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานฟิวชัน รวมทั้งการจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอต่อการพัฒนาศักยภาพด้านต่าง ๆ เช่น การสร้างสถาบันสำหรับการสอนและวิจัยด้านวัสดุศาสตร์ขั้นสูงสำหรับพลาสมาและพลังงานฟิวชัน รวมทั้งการสร้างบุคลากรที่มีความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใจได้ เป็นต้น

4. แนวคิดและการวางผังโรงไฟฟ้าฟิวชัน

         ปัจจุบันประเทศไทยพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก คิดเป็นร้อยละ 60 ของสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดในอนาคต โดยพลังงานฟิวชันถือเป็นพลังงานทางเลือกที่มีศักยภาพและเป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่มีประสิทธิภาพสูงและยั่งยืน
         การพิจารณาหลัก สำหรับการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานฟิวชันต้องพิจารณาปัจจัยหลัก 9 ประการ ดังนี้

  1. ความต้องการใช้ไฟฟ้า : ประเทศไทยต้องการไฟฟ้า 9,000 MW ต่อปี จากพลังงานฟิวชัน
  2. ขนาดของโรงไฟฟ้า : โรงไฟฟ้าฟิวชัน 1 โรง สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 1,000 MW
  3. จำนวนโรงไฟฟ้า : ต้องการโรงไฟฟ้า จำนวน 9 โรง เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ
  4. สถานที่ตั้ง : จำเป็นต้องตั้งใกล้แหล่งผลิตไฮโดรเจนซึ่งเป็นแหล่งเชื้อเพลิง และต้องสะดวกต่อการขนส่งวัสดุ
  5. บุคลากร : ต้องการ 7 คนต่อ MW รวม 6,300 คนต่อโรงไฟฟ้า
  6. ระยะเวลาการก่อสร้าง: อยู่ที่ประมาณ 10 ปี ตั้งแต่การวางแผนจนสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้
  7. งบประมาณ : ต่ำสุด 10 แสนล้านบาทและสูงสุด 3.15 แสนล้านบาท
  8. การใช้ประโยชน์อื่นๆ : พลังงานฟิวชันสามารถใช้ผลิตไฮโดรเจนสำหรับยานยนต์และเก็บรักษาอาหารซึ่ง

 

การประชุมระดมความคิดเห็นจะช่วยให้ได้แนวทางและข้อมูลที่หลากหลาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำสมุดปกขาวอย่างมีประสิทธิภาพ!

Shopping Cart
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • Analytics Cookies

    คุกกี้ที่รวบรวมข้อมูลเชิงสถิติทั้งหมดไว้ เพื่อปรับปรุงการนำเสนอ และการนำทางของไซต์
    Cookies Details

Save